เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "ของเล่นมหัศจรรย์หนึ่งสมองสองมือจูเนียร์"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนรู้และเข้าใจ ประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่น สามารถเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสม โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถออกแบบเลือกใช้วัสดุเหลือใช้หรือวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและภูมิใจในผลงานของตนเอง

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)



เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนรู้และเข้าใจ ประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่น สามารถเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสม โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถออกแบบเลือกใช้วัสดุเหลือใช้หรือวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและภูมิใจในผลงานของตนเอง

คำถามหลัก (Big Question)นักเรียนมีวิธีเลือกของเล่นอย่างไรบ้าง เพี่อให้เกิดประโยชน์ ปลอดภัย เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด

ภูมิหลังของปัญหา




ปัจจุบันของเล่นในท้องตลาดมีมากมายหลายประเภทให้เลือกซื้อ เลือกเล่นได้อย่างง่ายดาย ราคาถูก แต่วัสดุที่ทำนั้นมักไม่ได้คุณภาพ เล่นได้ไม่นาน มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารตะกั่ว แคดเมียม นิเกิล ปรอท สารเหล่านี้จะผสมอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำเป็นของเล่น ซึ่งมีผลต่อร่างกาย เช่นทำลายสมดุลของฮอร์โมนเด็ก เป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นจึงจำเป็นที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับของเล่นทั้งเล่นในน้ำ บนบก และลอยอากาศ ที่ปลอดภัย อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่ายกาย สิปัญญาและจิตใจตามช่วงวัย เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาต่อยอดในการประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งรอบๆ ตัว เช่น วัสดุเหลือใช้ในบ้าน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อตนเอง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อของเล่นได้อีกด้วย

ปฎิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์


ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ของเล่นหัศจรรย์หนึ่งสมองสองมือจูเนียร์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2557

Week
Input
Process
Output
Outcome
1

27-31 ตุลาคม 2557
โจทย์ กระดาษ 1 แผ่น

คำถาม
-  นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
-  นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ว่าอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดเกี่ยวกับการสังเกตเห็น/กระบวนการประดิษฐ์/ความรู้สึกที่ได้เล่น
- Blackboard Share แสดงความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสังเกตเห็น/กระบวนการประดิษฐ์ของเล่น
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับของเล่นจากกระดาษ
- Card and Chart เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
- Web วิธีเล่นของเล่นต่างๆ
- Think Pair Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
-     กระดาษ 1 แผ่น
-     ของเล่นต่างๆ
-     บรรยากาศภายในห้องเรียนและบริเวณรอบๆ โรงเรียน
กิจกรรม
-     ชื่นชมและสังเกตของเล่นที่นำมา (การบ้าน)
-     Show and Share สาธิตวิธีการเล่นของเล่นใช้เพื่อนฟัง สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเล่น และสรุปงาน ผ่านเครื่องมือคิด Web  
-     ประดิษฐ์กังหันลมจากกระดาษ พร้อมชื่นชมและเล่น สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้สึกก่อนเล่น ขณะเล่นและหลังเล่น ผ่านเครื่องมือคิด Plate mats
-     เลือกสิ่งที่อยากเรียนใน Quarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chard พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนเรื่องนั้น
-     เลือกสิ่งทีอยากเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือ Card and Chart
-     ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือ Think Pair Share 
-     ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้พร้อมสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ ผ่านเครื่องมือ Mind Mapping 

ภาระงาน
-     นำเสนอของเล่นและวิธีการเล่นจากของเล่นที่ประดิษฐ์ในช่วงปิด Quarter ที่ผ่านมา
-     ออกแบบและประดิษฐ์กังหันลมและสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกก่อนเล่น ขณะเล่น และหลังเล่น
-     แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
- Web ของเล่นและวิธีการเล่น
- กังหันลมจากกระดาษ
- Plate mats ความรู้สึกเกี่ยวกับการเล่น
Card and Chard เรื่องที่อยากเรียนรู้
- ป้ายชื่อหน่วยการเรียน
Mind Mapping  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
รู้จักคุณค่า วิธีการเล่น/กระบวนการประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
2

3-7 พฤศจิกายน 2557
โจทย์ วางแผนการเรียนรู้     

คำถาม
-    นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter อย่างไร
-    นักเรียนรู้และอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ “ของเล่น” บ้าง
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้/ปฏิทินการเรียนรู้ 
- Blackboard Share สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้ /ปฏิทินการเรียนรู้ 
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับของเล่นที่ทำเปลือกไข่/กระบวนการประดิษฐ์  
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
บรรยากาศ/สื่อ
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
-    เปลือกไข่, กาว และวัสดุธรรมชาติ (ใบไม้หรือกิ่งไม้)
กิจกรรม
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากเปลือกไข่ วิธีการประดิษฐ์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
- ประดิษฐ์ตุ๊กตาเปลือกไข่ตามจินตนาการ
- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากรู้ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms และ Blackboard Share 
ออกแบบทำปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms และ Blackboard Share 
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน ผ่านเครื่องมือคิด Mind Mapping 
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวางแผนประดิษฐ์ของเล่นจากเปลือกไข่

ชิ้นงาน
- ของเล่นจากเปลือกไข่
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
วางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด10 สัปดาห์ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
3

10 -14พฤศจิกายน 2557
โจทย์ กล่องนมโรงเรียนเป็นของเล่นที่เคลื่อนที่เองได้

คำถาม
นักเรียนจะนำวัสดุสังเคราะห์หรือวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดเกี่ยวกับของเล่นที่มีวิธีเล่นคล้ายกัน/ความเหมือนหรือต่างกันวิธีการเล่นของเล่น
- Blackboard Share ของเล่นที่มีวิธีการเล่นคล้ายกัน
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบประดิษฐ์ของเล่นและวิธีเล่น
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
- ตุ๊กตาชักกระตุก, จรวด
- อุปกรณ์ประดิษฐ์ของเล่น
ตุ๊กตากระโดดร่ม ( กล่องขนาดเล็ก ถุงพลาสติก เชือก) กล่องนมโรงเรียน
กิจกรรม
- สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของของเล่น 2 อย่าง (ตุ๊กตาชักกระตุกและจรวด ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
- ประดิษฐ์คนร่ม เล่นและสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแรงที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms
- นักเรียนออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากกล่องนมโรงเรียนโดยของเล่นนั้นจะต้องเคลื่อนที่เองได้ด้วย ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin พร้อมออกแบบใบความรู้เกี่ยวกับของเล่น เช่นวัสดุที่ใช้ วิธีการประดิษฐ์ วิธีการเล่น ข้อควรระวัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์






ภาระงาน
- ออกแบบประดิษฐ์ตุ๊กตากระโดดร่มและนำเสนองานของตนเอง
- ออกแบบประดิษฐ์เรือจากกล่องนมโรงเรียนและนำเสนองานของตนเอง

ชิ้นงาน
-  ตุ๊กตากระโดดร่ม
-  เรือจากกล่องนม
- ใบงานการออกแบบของเล่นจากกล่องนมโรงเรียน
-     สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
วัสดุสังเคราะห์และวัสดุเหลือใช้นำมาทำเป็นของเล่นได้หลายอย่าง ซึ่งของเล่นแต่ละอย่างมีวิธีการเล่นที่แตกต่าง นอกจากนี้ยังอาศัยกลไกหรือวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น แรงผลักและแรงต้าน แรงโน้มถ่วง และแรงคลายตัว เป็นต้น
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
4

17-21 พฤศจิกายน
2557
โจทย์  ไม้

คำถาม
นักเรียนจะนำวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นได้
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับของเล่น/วิธีการประดิษฐ์ของเล่น
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
-    อุปกรณ์ประดิษฐ์ของเล่น ก้านกล้วย, ซังข้าว, ใบลาน, ใบมะพร้าว, ใบตาน, ใบตองและไม้


กิจกรรม
-     ครูพานักเรียนสำรวจทุ่งนาโรงเรียน และประดิษฐ์ปีซังข้าว
และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับของเล่นจากธรรมชาติ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms 
-     ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นก้านกล้วย เล่นและสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีการเล่น/สิ่งที่ได้จากการเล่น ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms และสรุปของเล่นที่ได้จากก้านกล้วย
-     สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับของเล่นจากใบไม้ นำมาทำอะไรได้ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms
-     ประดิษฐ์ของเล่นจากงานสานใบลาน, ใบมะพร้าว, ใบตาล, ใบตอง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
-     สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับของเล่นจากไม้ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms
-     ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากไม้กระบวนการประดิษฐ์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin สรุปชิ้นงาน (วัสดุที่ใช้ วิธีการประดิษฐ์ วิธีการเล่น ข้อควรระวัง)
-     สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากก้านกล้วยและนำเสนองานของตนเอง
- ออกแบบประดิษฐ์ของเล่นจากไม้และนำเสนองานของตนเอง

ชิ้นงาน
-     ของเล่นจากก้านกล้วย
-     นิทานของเล่นก้านกล้วย
-     ของเล่นจากงานสานใบลาน, ใบมะพร้าว, ใบตาน, ใบตอง
-     ของเล่นจากไม้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
วัสดุธรรมชาติใกล้ตัวสามารถนำมาทำเป็นของเล่นได้หลายอย่าง ซึ่งของเล่นแต่ละอย่างมีวิธีการเล่นที่แตกต่าง นอกจากนี้ยังอาศัยกลไกหรือวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น แรงผลักและแรงต้าน แรงโน้มถ่วง และแรงคลายตัว เป็นต้น
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
-    สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
5

24-28 พฤศจิกายน
2557
โจทย์ ว่าว

คำถาม
-    นักเรียนจะนำวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติและสังเคราะห์หรือวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
-    นักเรียนมีวิธีการแยกประเภทของเล่นอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวัสดุที่จะนำมาทำว่าว
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกระบวนการ/วิธีประดิษฐ์ว่าว
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
- ชักเย่อความคิด ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติดีกว่าของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์หรือวัสดุเหลือใช้
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
-    อุปกรณ์ทำว่าว กระดาษแก้ว เชือก ไม้ไผ่ กาว
กิจกรรม
-     สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวัสดุที่สามารถนำมาทำว่าวได้ ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms ออกแบบการประดิษฐ์ว่าวตามจินตนาการ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin และอธิบายแรงหรือกลไกที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
-      ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของของเล่นจากสิ่งที่ตนเองคิด อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด
-     ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-     สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-     ค้นคว้าและออกแบบประดิษฐ์ว่าวตามจินตนาการและนำเสนอผลงาน
-     ศึกษาค้นคว้าว่าทำไมว่าวถึงลอยอยู่บนอากาศได้
-     ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของของเล่น

 ชิ้นงาน
- ว่าว และเรื่องราวหรือการ์ตูนช่องเรื่องว่าว
- ชาร์ตความคิดประเภทของเล่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ว่าวทำจากวัสดุได้หลายชนิด กระดาษ พลาสติก ไม้ไผ่ ว่าวลอยอยู่บนอากาศได้ด้วยแรงยกจากลม และเรากำหนดทิศทางจากการดึงสายป่าน ฤดูหนาวเหมาะกับการเล่นว่าว
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
6

1-5
 ธันวาคม 2557
โจทย์ ย้อนเวลาไปครึ่งศตวรรษ

คำถาม
นักเรียนคิดว่าเด็กๆในสมัยก่อนมีของเล่นอะไรบ้าง และมีวิธีการเล่นอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับของการละเล่นของไทย
- Jigsaw ออกแบบการละเล่นของไทยให้พี่และน้องได้ร่วมกิจกรรม
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบการละเล่น
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียนและบริเวณโรงเรียน
-    อุปกรณ์ประกอบการละเล่น
กิจกรรม
-     นักเรียนค้นคว้าการละเล่นสมัยอดีตว่ามีของเล่นหรือการละเล่นอะไรบ้าง ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms แต่ละอย่างวิธีการเล่นอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Jigsaw พร้อมออกแบบการละเล่น ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
-     นักเรียนนำเสนอการเล่นผ่านการทำกิจกรรม “การละเล่นสมัยอดีต” ให้พี่และน้องร่วมกิจกรรม
-     นักเรียนค้นหาข้อมูลการเล่นหรือการละเล่นของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย
-     สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
-     ศึกษาวิธีการเล่นการละเล่นสมัยอดีตพร้อมออกแบบกิจกรรมให้พี่และน้องได้ร่วมเล่น
-     วิเคราะห์และสรุปกิจกรรม
-     ค้นคว้าหาการละเล่นในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน

ชิ้นงาน
- ชาร์ตการออกแบบกิจกรรมการละเล่นพร้อมวิธีการเล่น
- สรุปการละเล่นในอดีตและปัจจุบันพร้อมวิธีสืบสานการละเล่นให้คงอยู่สืบไป
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ของเล่นและการละเล่นในสมัยก่อนมีอยู่หลายอย่าง การละเล่นในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือของเล่นหรือจะอิงตามวัสดุในท้องถิ่น นอกจากนี้การละเล่นส่วนมากเด็กๆจะเล่นกันหลายคน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการเล่นและการและเล่นยังเป็นการออกกำลังกายอีกด้วย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
 เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
7

8-12
 ธันวาคม 2557

โจทย์  ของเล่นในชั้นเรียน

คำถาม
-           ทำไมจึงต้องเล่น มีของเล่นไว้เพื่ออะไรบ้าง ของเล่นดีกับเราจริงหรือไม่
-           ถ้าเราเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บหรือดูแลจะเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับของเล่นที่มีประโยชน์และของเล่นที่อันตราย
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปของเล่นน้อยใจ/การเก็บและดูแลรักษาของเล่น
- Plate mats การเก็บและดูแลรักษาของเล่น
- Show and Share นำเสนอประโยชน์และโทษจากของเล่น
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
 - ชักเย่อความคิด ของเล่นมีประโยชน์มากกว่าโทษ
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิป “ของเล่นน้อยใจ”
-     อินเตอร์เน็ต
-     ของเล่นในชั้นเรียน

กิจกรรม
- ครูให้นักเรียนชักเย่อความคิด ของเล่นมีประโยชน์มากกว่าโทษ
-     ครูให้นักเรียนนำของเล่นที่นักเรียนประดิษฐ์มาให้นักเรียนเล่น นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าของเล่นแต่ละอย่างมีประโยชน์อย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms
-     นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่น
-     นักเรียนดูคลิป “ของเล่นน้อยใจ” สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในคลิป เพราะเหตุใด “ของเล่นจึงน้อยใจ” ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
-     นักเรียนจัดเก็บของเล่นจัดเก็บของเล่นในชั้นเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
-     วิเคราะห์ว่าของเล่นแต่ละประเภทควรเก็บไว้อย่างไรจึงจะเป็นระเบียบและอยู่กับเราได้อย่างยาวนาน

ภาระงาน
- ค้นหาข้อมูลประโยชน์ที่ได้จากการเล่นของเล่นต่างๆ
- ทำความสะอาดและจัดเก็บของเล่นที่ประดิษฐ์ในชั้นเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

ชิ้นงาน
-      แผ่นพับประโยชน์และโทษของของเล่นต่างๆ
-      Plate mats การเก็บและดูแลรักษาของเล่น
-      นิทานการเก็บและดูแลของเล่น
-      สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ของเล่นนอกจากจะให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น สร้างรายได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สติปัญญา ไหวพริบดี แต่บางอย่างก็ให้โทษเช่นกัน ตัวอย่างเช่นของเล่นแหลมคม พลาสติก ยาง มีสารปนเปื้อนทำให้เกิดอันตรายได้  และของเล่นเมื่อเล่นแล้วควรเก็บให้เข้าที่ ทำความสะอาดเพื่อให้อยู่กับเราได้อย่างคุ้มค่า
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในห้องเรียนในการจัดเก็บของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
-ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการทำงาน
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
- สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
ทักษะการสื่อสาร
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- ทักษะการคิดและการเรียนรู้ โดยมีความสนในและสามารถวางแผนการเรียนรู้ได้
- สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการทำงานของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่อยากเรียน
ทักษะ ICT
-สามารถเลือกใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลได้อย่างหลากหลายตรงตามวัตถุประสงค์
-วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลประโยชน์และโทษจากของเล่นได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันภัย
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
8

15 – 19 ธันวาคม 2557

โจทย์  ของเล่นในอนาคต

คำถาม
-    ของเล่นมีความเป็นมาอย่างไรและในอนาคตของเล่นจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด ?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดของเล่นที่เล่นในอดีตแต่ปัจจุบันยังมีให้เห็น
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีสืบสานการละเล่นและของเล่นในสมัยอดีต/ของเล่นในอนาคต
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
-  อินเตอร์เน็ต
-    บรรยากาศในชั้นเรียน

กิจกรรม
- ครูให้นักเรียนสังเกตกังหันลมจากไม้และพลาสติก ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ทั้งสองอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
-ครูกระตุ้นการคิด ของเล่นทั้งสองอย่างคิดว่าอะไรที่มีมาก่อนกัน มีมาตั้งแต่เมื่อไร
-นักเรียนคิดวิเคราะห์ ว่าอะไรมีก่อนหรือหลัง ตั้งแต่เมื่อไร
- ครูตั้งคำถาม
 คิดว่าในอนาคตกังหันจะทำมาจากอะไร
นอกจากกังหันแล้วยังมีอะไรบ้างที่นักเรียนคิดว่าของเล่นในอนาคตจะเปลี่ยนไปบ้าง
- นักเรียนค้นหาข้อมูลวิวัฒนาการของของเล่นจากอินเตอร์เน็ตและเขียนอนาคตที่คิดว่าจะเกิดขึ้น
- ออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นในอนาคตตามจินตนาการ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-     วิเคราะห์วิธีที่จะทำให้ของเล่นในอดีตยังคงอยู่และได้รับความนิยมในปัจจุบัน
-     ค้นหาข้อมูลวิวัฒนาการของของเล่น
-     ออกแบบของเล่นในอนาคตตามจินตนาการ

ชิ้นงาน
-     ชาร์ตความรู้วิวัฒนาการของเล่น
-     ของเล่นในอนาคตตามจินตนาการ
-     นิทานสืบสานของเล่นจากภูมิปัญญา
-     สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ของเล่นมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน บางอย่างมีวิธีการเล่นเหมือนเดิมแต่วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์เปลี่ยนไปเช่น หมากเก็บ หมากรุก ตุ๊กตา เป็นต้น
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
9-10
22 – 30 ธันวาคม 2557

โจทย์  สรุปองค์ความรู้ ของเล่น
คำถาม
-นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ ของเล่นให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้
เครื่องมือคิด
 Round Rubin และ Blackboard Share สนทนา ถามตอบทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Quarter นี้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- Card and Chart  สิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
- Round Rubin จะเผยแพร่องค์ความรู้อย่างไร
 สื่อ/อุปกรณ์
บรรยากาศในห้องเรียน
กิจกรรม
วันจันทร์
ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
วางแผนการนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจ
นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-เขียน  สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียน
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน ผ่านการจัดนิทรรศการหนังสือนิทาน ให้เพื่อนๆ น้องๆได้ชม
แลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน ผ่านนิทาน
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน
-จัดนิทรรศการเผยแพร่สรุปองค์ความรู้

ชิ้นงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
นิทรรศการเผยแพร่สรุปองค์ความรู้
ความรู้
วางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
 ทักษะการสื่อสาร 
-    บอกความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-    สนทนาถามตอบเรื่องที่ตนเองเรียนได้
- สามารถ่ายทอดความรู้สึกที่ตนเองได้รับโดยอธิบายให้ผู้อื่นทักษะการจัดการข้อมูล
-  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-      เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-     สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น







ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
Topic : “ของเล่นหนึ่งสมองสองมือจูเนียร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
สร้างฉันทะ
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว  
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน

มาตรฐาน ว 8.1
-ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ตามความสนใจ (ว8.1 ป.2/1)
- วางแผนการศึกษาค้นคว้า สำรวจ ตรวจสอบ โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และผู้รู้ (ว8.1ป.2/2)
- ใช้เครื่องมือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล บันทึก หรือสรุปผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม (ว8.1 ป.2/3)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการตรวจสอบ
 แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้ได้
 (ว8.1 ป.2/4-6)
มาตรฐาน ส 2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้
 (ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ
(ส 2.1 . 2/4)
มาตรฐาน พ  2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการเลือกหัวข้อและวางแผนการเรียนรู้ได้
 (พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเลือก การวางแผน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้ (พ 2.1 . 2/2)
มาตรฐาน ศ 1.1
นำสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง    ได้เห็นสร้างงานศิลปะโดยการวาดภาพและบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็นและเรื่องราวเนื้อหาของภาพได้
(ศ1.1 . 2/7)




มาตรฐาน ง 1.1
- ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน
(ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
- มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่ได้ดูได้ฟัง และได้เห็นไปถ่ายทอดเป็นชิ้นงานภาพวาด รวมทั้งวางแผนล่วงหน้าในการเรียนได้
(ง 2.1 ป.2/4)
มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นชนิดของเล่นที่หลากหลายโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย (ส4.1ป.5/1)
- เข้าใจและสามารถระบุเวลา เหตุการณ์ เห็นความสัมพันธ์ของเวลา  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจถึงความเปลี่ยน
แปลง (ส4.1ป.2/1)
- เข้าใจและสามารถลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย และสามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลได้ (ส4.1ป.2/2)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
ความหมาย
ความสำคัญ

มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถตั้งคำถามสิ่งที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ได้ (ว 8.1 .2/1)
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างของเล่นในอดีตและปัจจุบันยุคใดที่มีความพอเพียงและใช้วัสดุพื้นถิ่นได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็น รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของของเล่นเป็นกลุ่มได้(ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจและสามารถนำเสนอกระบวนการและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านชิ้นงานได้ (ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 1.1
-ชื่นชม เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งและบอกแบบอย่างของการเล่นอย่างเหมาะสม (ส 1.1 .2/5)
มาตรฐาน ส 2.1
-ยอมรับความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติของผู้อื่น รวมทั้งมีความอดทนอดทน มุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบในการทำงาน การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้(ส2.1 ป.2/3)
-เคารพและสามารถแสดงออกในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น(ส 2.1 .2/4)
มาตรฐาน พ 2.1
-เข้าใจ เห็นคุณค่าของ
ตนเอง และผู้อื่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย มีทักษะในการดำเนินชีวิต (พ 2.1 . 2/3)
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการเล่นและการทำกิจกรรมได้
 (พ 5.1 ป. 2/1)
มาตรฐาน พ 3.1
-เข้าใจและสามารถเล่นและควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นระหว่างการร่วมกิจกรรม (พ3.1 ป.2/2)
มาตรฐาน ศ1.1
-เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านการวาดภาพตกแต่งผลงานและทำการ์ตูนช่อง
(ศ 1.1ป.2/3)
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัสดุธรรมชาติ(ศ 1.1ป.2/4)
มาตรฐาน ศ 3.2
-เข้าใจและสามารถระบุความหมาย ความสำคัญของการเล่นกับของเล่นพื้นบ้านและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ3.2ป.2/1)
-เข้าใจและสามารถเชื่อม
โยงการเล่นและของเล่นพื้นบ้านกับสิ่งต่างๆรอบ
ตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
(ศ 3.2 ป. 2/2)
-เข้าใจและรู้คุณค่าที่แท้ของการเล่นกับของเล่นพื้นบ้านรวมทั้งของเล่นตามธรรมชาติ (ศ 3.2ป.2/3)
มาตรฐาน ง 1.1
-สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลของประวัติความเป็นมา ความหมายและความสำคัญของของเล่นรวมทั้งวางแผนการทำงานได้ด้วยตนเอง(ง 1.1 .2/3)
-ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานรวมทั้งสามารถใช้พลังงานและทรัพยากรในการสร้างสรรค์ของเล่นได้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด(ง1.1ป.3/2-3)
มาตรฐาน ง.2.1
- มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถประดิษฐ์ของเล่น 3 มิติได้อย่างสร้างสรรค์ผ่านการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
(ง 2.1 ป. 2/4)
มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นชนิดของเล่นที่หลากหลายโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย (ส4.1ป.5/1)
- เข้าใจและสามารถระบุเวลา เหตุการณ์ เห็นความสัมพันธ์ของเวลา  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจถึงความเปลี่ยน
แปลงของการเล่นของเล่นได้ (ส4.1ป.2/1)
มาตรฐาน ส 4.2
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของการเล่นไทยในอดีตและปัจจุบันได้ (ส 4.2 . 3/3)







สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
ประเภทของการเล่นกับของเล่น
-การเล่นและของเล่นพื้นบ้าน
(ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้)
-การเล่นและของเล่นสมัยนิยม
การออกแบบและสร้างสรรค์ของเล่น
- เล่นลอยอากาศ
- ของเล่นลอยน้ำ
- ของเล่นกับลม
- ของเล่นเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 3.1
- สามารถระบุชนิดและเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่นพื้น
บ้านและของเล่นสมัยนิยมแล้วเลือกใช้ได้อย่างเหมาะ
สม คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ว 3.1 . 2/1)
- สามารถเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในการทำของเล่นพื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ว 3.1 . 2/1)
มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างของเล่นพื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมสู่วิถีความพอเพียงและนำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างมีเหตุมีผล (ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล รวบรวมความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมประเภทต่างๆได้ (ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจและสามารถนำเสนอกระบวนการและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านชิ้นงานได้ (ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 2.1
-เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการเล่นแต่ละพื้นถิ่น รวมทั้งเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน (ส 2.1 ป. 2/3)

มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายพัฒนาการของร่างที่เหมาะสมกับการเล่นของเล่นแต่ละประเภท (พ2.1 ป.2/3)
มาตรฐาน พ 4.1
-เข้าใจและสามารถระบุของเล่นพื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมที่มีคุณค่าต่อสุขภาพได้ (พ 4.1 ป.2/3)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการเล่นและสร้างสรรค์ของเล่นได้ (พ 5.1 ป. 2/1)

มาตรฐาน ศ1.1
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัสดุธรรมชาติ(ศ 1.1ป.2/4)
มาตรฐาน ศ 3.2
-เข้าใจและสามารถระบุความหมาย ความสำคัญของการเล่นกับของเล่นพื้นบ้านได้(ศ3.2ป.2/1)
-เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการเล่นและของเล่นพื้นบ้านกับสิ่งต่างๆรอบตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์(ศ 3.2 ป. 2/2)
-เข้าใจและรู้คุณค่าที่แท้ของการเล่นกับของเล่นพื้นบ้านรวมทั้งของเล่นตามธรรมชาติ(ศ 3.2ป.2/3)

มาตรฐาน ง 1.1
-เข้าใจและสามารถออกแบบภาพร่างกลไกของเล่นประเภทต่างๆแล้วนำไปสร้างเป็นของเล่นพื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมได้อย่าเหมาะ
สมและเกิดประโยชน์สูงสุด (ง1.1. 2/2)
-เข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออย่างถูกวิธีไปใช้ในการสร้างสรรค์ของเล่นอย่างเหมาะสมและระมัดระวัง
(ง 1.1 . 2/3)
- มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประดิษฐ์ของเล่น พื้นบ้านและของเล่นสมัยนิยมโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและไม่ทำลายทรัพยากร (ง 2.1 ป. 3/2)
มาตรฐาน ส 4.3
-เข้าใจ เห็นคุณค่าและสามารถยกตัวอย่างและอธิบายภูมิปัญญาในการเล่นและประดิษฐ์ของเล่นที่ภาคภูมิใจและควรอนุรักษ์ไว้ (ส 4.3 . 2/2)
มาตรฐาน ส 5.2
-แสดงออกถึงวิจารณญาณและภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเล่นและการเลือกของเล่นในชีวิตประจำวันผ่านการเล่นและการสร้างสรรค์ของเล่นและวิถีปฏิบัติรวมทั้งอธิบายความแตกต่างของของเล่นในเมืองและของเล่นในชนบท ได้อย่างมีเหตุผล (5.2 . 3/4)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
วัสดุที่นำมาทำเป็นของเล่น
-ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
-ของเล่นจากการประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสังเคราะห์

มาตรฐาน ว 2.2
-สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน โรงเรียนระบุการใช้ทรัพยากรนั้นสามารถนำมาเล่นหรือสร้างสรรค์เป็นของเล่นได้อย่างไรให้ประหยัดคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
(ว 2.2 ป. 3/1-3)
มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถจัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างของเล่นจากธรรมชาติและของเล่นจากการประดิษฐ์ด้วยวัสดุสังเคราะห์และวัสดุตามธรรมชาติแล้วนำเสนอถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 .2/4)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็น รวบรวมความรู้เกี่ยวกับของเล่นจากธรรมชาติและของเล่นจากการประดิษฐ์ได้ (ว 8.1 .2/6)
- เข้าใจสามารถนำเสนอและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลตรงตามวัตถุประสงค์และกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน(ว 8.1 .2/8)
มาตรฐาน ส 2.1
-เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-เห็นคุณค่าของของเล่นที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ที่แตกต่างกันเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน (ส 2.1 ป. 2/3)

มาตรฐาน พ 2.1
-มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนในการเล่นและการทำงานร่วมกัน(พ 2.1 .3/2)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุต่อตนเองและผู้อื่นระหว่างการเล่นและการทำกิจกรรมได้
(พ 5.1 ป. 2/1)

มาตรฐาน ศ1.1
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัสดุธรรมชาติ(ศ 1.1ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพการ์ตูนช่องเกี่ยวกับการเล่นและของเล่นรวมทั้งสามารถบรรยายหรือถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ 1.1 ป. 2/7)
มาตรฐาน ศ 3.2
-เข้าใจและสามารถระบุแหล่งที่มาและ ความสำคัญสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการเล่นและการประดิษฐ์ของเล่นได้(ศ3.2ป.2/1) -เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการเล่นและของเล่นพื้นบ้านกับสิ่งต่างๆรอบตัวที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์(ศ 3.2 ป. 2/2)
-เข้าใจและรู้คุณค่าที่แท้ของการเล่นกับของเล่นพื้นบ้านรวมทั้งของเล่นตามธรรมชาติ(ศ 3.2ป.2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
-สร้างของเล่นอย่างง่ายโดยการกำหนดเป้าหมายและการออกแบบโดยถ่ายทอดผ่านวัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยไม่เบียดบังต่อสิ่งอื่น รวมทั้งก่อให้เกิดการสูญเปล่าแต่เกิดประโยชน์สูงสุด(ง 2.1 .2/2)
-เข้าใจและมีวิธีการจัดการกับวัสดุหรือทรัพยากรที่มีเหลือใช้โดยการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม
(ง 2.1 ป. 3/3)
- สามารถนำความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างของเล่นได้อย่างถูกวิธีรวมทั้งสามารถจัดเก็บและดูแลได้อย่างเหมาะสม(ง 2.1 .2/3)

มาตรฐาน ส 5.2
-เข้าใจและสามารถอธิบายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตของเล่น ที่นับวันจะสูญเสียไปพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันและมีส่วนในการเพิ่มฐานทรัพยากรธรรมชาตินั้น(ส 5.2 .2/1)
-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญและคุณค่าของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีผลต่อวัตถุดิบและเป็นฐานของทรัพยากรที่สำคัญในการดำรงชีวิต การเล่นและทำของเล่นพื้นบ้านได้(ส 5.2 . 3/2)
-อธิบายความสัมพันธ์ของฤดูกาลที่มีผลต่อการเล่นและการประดิษฐ์ของเล่นในแต่ละพื้นถิ่น
(ส 5.2 ป.2/3)
-เข้าใจและอธิบายผลกระทบจากการสร้างการประดิษฐ์ของเล่นจากธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ที่มีต่อโลกพร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข การป้องกันอย่างสมดุลมีความยั่งยืนหรือวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ส 5.2 ป.2/4)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
วิทยาศาสตร์กับการเล่นและของเล่น
-เสียง ขยายเสียง ระดับเสียง (เรือป๊อกแป๊ก นกหวีดน้ำ นกหวีดไม้ไผ่ เป่าใบไม้)

มาตรฐาน ว 2.3
-เข้าใจและสามารถระบุชนิด เปรียบเทียบและจำแนกสมบัติของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของของเล่นและมีความหลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำของเล่นได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย (ว 2.3 . 2/1)
-เข้าใจและอธิบายการใช้และเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติต่าง ๆในการประดิษฐ์ของเล่นได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
(ว 2.3 . 2/2)
มาตรฐาน ว 3.1
-เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ของเล่นจากคุณสมบัติของวัสดุที่มีความยืดหยุ่น สืบค้นข้อมูลและนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์อื่นในชีวิตประจำวัน(ว 3.1 ป. 5/1-2)
มาตรฐาน ว 4.1
-เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง สามารถทดลอง เล่นและสร้างสรรค์ของเล่นได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรม
(ว 4.1 ป. 2/1-3)
-สามารถทดลองและอธิบายแรงที่เกิดจากการบีบ อัด ดึง ทุบ ยืด รวมทั้งแรงที่เกิดจากแม่เหล็กแล้วนำมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์ของเล่นได้ (ว 4.1. 3/1)
- สามารถทดลองและอธิบายการตกของวัตถุเป็นผลมาจากแรงดึงดูดของโลกพร้อมทั้งนำมาในในการออกแบบและสร้างสรรค์ของเล่นได้
(ว 4.1. 3/2)
มาตรฐาน ว 4.2
-เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุในธรรมชาติรวมทั้งการเล่นและของเล่น ทดลองและสามารถอธิบายเกี่ยวกับแรงเสียดทานและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย(ว 4.2 ป. 5/1)
มาตรฐาน ส 1.1
-ชื่นชม เห็นคุณค่าและบอก
แบบอย่างของการเล่นที่เหมาะสม (ส 1.1 .2/3)
มาตรฐาน ส 2.1
-เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-เคารพและสามารถแสดงออก
ในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น(ส 2.1 .2/4)


มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายพัฒนาการของร่างที่เหมาะสมกับการเล่นของเล่นแต่ละประเภท (พ2.1 ป.2/3)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการเล่นได้ (พ 5.1 ป. 2/1)

มาตรฐาน ศ1.1
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัสดุธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม(ศ 1.1ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพการ์ตูนช่องเกี่ยวกับการเล่นและของเล่นรวมทั้งสามารถบรรยายหรือถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ 1.1 ป. 2/7)

มาตรฐาน ง 2.1
-สร้างของเล่นอย่างง่ายโดยการกำหนดเป้าหมายและการออกแบบการเล่นได้เหมาะสมและปลอดภัย(ง 2.1 .2/2)
- สามารถนำความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างของเล่นได้อย่างถูกวิธี มีความพอเพียง ไม่ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์เกินความจำเป็น(ง 2.1 .2/3)
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นและการเล่นผ่านของเล่น ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัย (ง 2.1 ป. 2/4)
มาตรฐาน ส 5.2
-เข้าใจและสามารถอธิบายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตของเล่น ที่นับวันจะสูญเสียไปพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันและมีส่วนในการเพิ่มฐานทรัพยากร
ธรรมชาตินั้น (ส 5.2 .2/1)
-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญและคุณค่าของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีผลต่อวัตถุดิบและเป็นฐานของทรัพยากรที่สำคัญในการดำรงชีวิต การเล่นและทำของเล่นพื้นบ้านได้(ส 5.2 . 3/2)
-เข้าใจและอธิบายผลกระทบจากการสร้างการประดิษฐ์ของเล่นจากธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ที่มีต่อโลกพร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข การป้องกันอย่างสมดุลมีความยั่งยืนหรือวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ส 5.2 ป.2/4)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
-ประโยชน์ของของเล่น
-อันตรายจาการเล่นและของเล่น
- การดูแลรักษา
- ของเล่นในอนาคต
มาตรฐาน ว 3.1
-เข้าใจและสามารถระบุชนิด เปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่นและสามารถเลือกใช้วัสดุนั้นได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด
(ว3.1 ป. 2/1-2)
มาตรฐาน ว 8.1
-สามารถตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับของเล่นในอนาคตได้(ว8.1 ป. 2/5)
- เข้าใจสามารถนำเสนอและอธิบายผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลตรงตามวัตถุประสงค์และกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน(ว 8.1 .2/8)

มาตรฐาน ส 1.1
-ชื่นชม เห็นคุณค่าและบอก
แบบอย่างของการเล่นที่เหมาะสม มีคุณธรรมต่อตนเองและผู้อื่นไม่ก่อให้เกิดอันตราย (ส 1.1 .2/3)
มาตรฐาน ส 2.1
-เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเองได้โดยไม่มีอคติ
(ส 2.1 ป. 2/3)
-เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการเล่นแต่ละพื้นถิ่น รวมทั้งเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรในแต่ละพื้นถิ่นที่ควรค่าต่อการดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุลอย่างยั่งยืน
(ส 2.1 ป. 2/3)
มาตรฐาน ส 3.1
-ระบุสินค้าที่เป็นของเล่น รวมทั้งวัตถุดิบที่นำมาทำของเล่นในชุมชนของตนเองได้ โดยไม่เป็นการทำลายทรัพยากรแต่นำมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด(ส 3.1 . 2/1)
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีของการเล่นและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อของเล่น (ส 3.1 . 2/4)
มาตรฐาน พ 1.1
-เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย แล้วสามารถเลือกเล่นและสร้างของเล่นได้เหมาะสม ปลอดภัย ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น(พ 1.1ป.4/1)
มาตรฐาน พ 2.1
-มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนเห็นความสำคัญของเพื่อนในการเล่นและการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
(พ 2.1 .2/2)
มาตรฐาน พ 5.1
- สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการเล่นและสร้างสรรค์ของเล่นได้ (พ 5.1 ป. 2/1)
มาตรฐาน ศ1.1
-มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือ และเลือกอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ จากวัสดุธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม(ศ 1.1ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพประกอบนิทานเกี่ยวกับประโยชน์ของการเล่นกับของเล่นรวมทั้งสามารถบรรยายหรือถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ 1.1 ป. 2/1-7)

มาตรฐาน ง 1.1
-เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด รอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(ง 1.1 ป.3/1)
มาตรฐาน ง 2.1
-สร้างของเล่นอย่างง่ายโดยการกำหนดเป้าหมายและการออกแบบการเล่นได้เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัสดุและปลอดภัย (ง 2.1 .2/2)
- สามารถนำความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างของเล่นได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย(ง 2.1.2/3)
- มีความคิดสร้างสรรค์
ในการเล่นผ่านของเล่น ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ระมัดระวังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ง 2.1 ป. 2/4)
มาตรฐาน ส 4.2
- สามารถสืบค้นและเข้าใจวิถีชีวิตของการเล่นของเล่นและการเปลี่ยนแปลงของของเล่นตามสมัยต่างๆอย่างต่อเนื่อง
(ส 4.2 ป.2/1)
- ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการการเล่นที่เปลี่ยนไป
(4.2 .2/2)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์
สรุปองค์ความรู้
-วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
-สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind Mapping หลังเรียนรู้
-นำเสนอการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1 
- เข้าใจและใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับของเล่นในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษาอย่างมีเหตุมีผล (ว8.1 ป.2/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้ 
(ว8.1 ป.2/4-6)
- บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้  (ว8.1 ป.2/7-8)
มาตรฐาน ส2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้ (ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ อย่างไม่มีอคติ (ส 2.1 . 2/4)
มาตรฐาน พ2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้
(พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและเห็นความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้ (พ 2.1 . 3/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างเหมาะสม(ศ1.1 ป.2/4)
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบภาพประกอบการ์ตูน นิทานเพื่อตกแต่งผลงานพร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ1.1 ป.2/1-7)
มาตรฐาน ศ 2.1
-สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้ พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ2.1 ป.3/5)
มาตรฐาน ศ 3.1
-มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม(ศ3.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ง1.1
-ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน (ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
-มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ง 2.1 ป.2/4)
มาตรฐาน ส 4.3
สามารถทำประโยชน์ต่อท้องถิ่น เห็นคุณค่าของเล่นและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆเชื่อมโยงความสัมพันธ์การเล่นและของเล่นต่อ
 (ส4.3 .2/1)
-ยกตัวอย่าง วัฒนธรรมปะเพณี และภูมิปัญญาไทยในการสืบทอดเกี่ยวกับการเล่นตามยุคสมัยนิยม
(ส4.3 .2/2)


สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากรู้
หน่วย “ของเล่นมหัศจรรย์หนึ่งสมองสองมือจูเนียร์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557


สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
-    ของเล่นมีประโยชน์
-    ของเล่นมีล้อ
-  ของเล่นบางอย่างใช้งานได้
-    ของเล่นเล่นได้
-    ของเล่นใช้ถ่านและไม่ใช้ถ่าน
-    ของเล่นมีหลายแบบ
-    ของเล่นแขวนได้
-    ของเล่นมีหลายสายพันธุ์
-  กะลานำมาทำเป็นของเล่นได้
-  สิ่งของต่างๆ นำมาทำเป็นของเล่นได้
-  ของเล่นที่มีล้อวิ่งได้
- ของเล่นมีว่าว มีรถ
-  ก้านกล้วย ทำเป็นของเล่นได้
-  ของเล่นทำมาจากกระป๋อง
ปั้นดินเหนียวเล่นได้
-  ของเล่นทำด้วยอะไรก็ได้
-  ของเล่นประดิษฐ์แล้วเล่นได้
-  ลูกข่างทำจากแผ่นซีดีได้
-  กระดาษพับเป็นของเล่นได้
ขอเล่นทำจากไม้
เล่นขายของ
-  เล่นขาโถกเถก
- ลมทำให้ว่าวขึ้น
-  กล่องนำทำเป็นรถได้
-  ของเล่นมีทั้งแข็งและไม่แข็ง
-  เชือกทำเป็นของเล่นและชักเย่อได้
-  รี  รีข้าวสารและมอนซ่อนผ้าเป็นการละเล่นพื้นบ้าน
-  ดินเหนียวปั้นเป็นรูปสัตว์
-   ของเล่นมีกี่ชนิด
-   ของเล่นมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง
-   ของเล่นต่างประเทศมีอะไรบ้าง
-   ของเล่นทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง
-   ทำไมของเล่นวิ่งได้
-   ส่วนประกอบของของเล่นมีอะไรบ้าง
-   ของเล่นทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร
-   ของเล่นมีความเป็นมาอย่างไร
-   ทำไมถึงชื่อว่าของเล่น
-   เครื่องบินของเล่นบินได้หรือไม่
-   นกพับอย่างไร
-   ตั๊กแตนสานอย่างไร
-   ป๋องแป๋งทำอย่างไร
-   เครื่องบินบังคับมีกลไกการทำงานอย่างไร
-   ประเทศใดทำของเล่นเป็นประเทศแรก
-   เสื้อกระดาษพับอย่างไร
-   จักจั่นทำอย่างไร
-   ปลาสานอย่างไร
-   หลอดทำเป็นอะไรได้บ้าง
-   ของเล่นวิ่งได้อย่างไร
-   อะไรทำเป็นจรวดได้บ้าง
-   ตะกร้อพับอย่างไร
-   ทำอย่างไรของเล่นถึงจะเล่นได้นานๆ


  Main Idea (หัวเรื่อง)
สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
ปฎิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้