เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "ของเล่นมหัศจรรย์หนึ่งสมองสองมือจูเนียร์"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนรู้และเข้าใจ ประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่น สามารถเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสม โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถออกแบบเลือกใช้วัสดุเหลือใช้หรือวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและภูมิใจในผลงานของตนเอง

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถบอกวัสดุที่ใช้ประดิษฐ์ของเล่นที่มีวิธีการเล่นคล้ายหรือแตกต่างกันกัน รวมทั้งสามารถออกแบบการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์และวัสดุเหลือใช้อย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
Week
Input
Process
Output
Outcome
3

10 -14พฤศจิกายน 2557
โจทย์ กล่องนมโรงเรียนเป็นของเล่นที่เคลื่อนที่เองได้

คำถาม
นักเรียนจะสามารถสร้างสรรค์ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์หรือวัสดุเหลือใช้อย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดเกี่ยวกับของเล่นที่มีวิธีเล่นคล้ายกัน/ความเหมือนหรือต่างกันวิธีการเล่นของเล่น
- Blackboard Share ของเล่นที่มีวิธีการเล่นคล้ายกัน
- Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบประดิษฐ์ของเล่นและวิธีเล่น
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
วันจันทร์
ชง :
ครูให้นักเรียนสังเกตของเล่น 2 อย่าง (ตุ๊กตาชักกระตุกและจรวด ครูถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน
- นักเรียนคิดว่าของเล่นทั้งสองอย่างมีวิธีการเล่นอย่างไร เหมือนหรือต่างกันนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าของเล่นใดบ้างที่มีการเล่นแบบเดียวกันกับตุ๊กตาชักกระตุกและจรวด นักเรียนระดมความคิดเกี่ยวกับของเล่นที่มีวิธีเล่นคล้ายกัน ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorms และ Blackboard Share 
ใช้ :
-     นักเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตากระโดดร่มและออกแบบการเล่นของตนเอง
ภาระงาน
- ออกแบบประดิษฐ์ตุ๊กตากระโดดร่มและนำเสนองานของตนเอง
- ออกแบบประดิษฐ์เรือจากกล่องนมโรงเรียนและนำเสนองานของตนเอง

ชิ้นงาน
-  ตุ๊กตากระโดดร่ม
-  เรือของเล่นจากกล่องนม
- ตุ๊กตามือของเล่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถบอกวัสดุที่ใช้ประดิษฐ์ของเล่นที่มีวิธีการเล่นคล้ายหรือแตกต่างกันกัน รวมทั้งสามารถออกแบบการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์และวัสดุเหลือใช้อย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง


Week
Input
Process
Output
Outcome
3

10 -14พฤศจิกายน 2557
(ต่อ)
สื่อ/อุปกรณ์
- ห้องเรียน
- ตุ๊กตาชักกระตุก, จรวด
- อุปกรณ์ประดิษฐ์ของเล่น
ตุ๊กตากระโดดร่ม ( กล่องขนาดเล็ก ถุงพลาสติก เชือก) กล่องนมโรงเรียน
วันอังคาร
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมวันที่ผ่าน
เชื่อม :
-       ครูตั้งคำถามกระตุ้นการ “นักเรียนคิดว่า กล่องนมโรงเรียนที่เราดื่มทุกวันสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นอะไรได้บ้าง นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับของเล่นจากกล่องนมโรงเรียน
-       ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบของเล่นจากกล่องนมโรงเรียนอย่างไรให้มีการเคลื่อนที่ได้”
ใช้ :
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 2 คน ออกแบบชิ้นงานในกระดาษและประดิษฐ์ของเล่นจากกล่องนมโรงเรียน
วันพฤหัสบดี
ใช้ :
-       นักเรียนประดิษฐ์ของจากกล่องนมต่อจากวันอังคาร
-       นำเสนอของเล่นของตนเอง

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในประดิษฐ์ชองเล่นจากถุงพลาสติก กล่องนมโรงเรียนให้คุ้มค่าและเหมาะสม
-ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการประดิษฐ์ของเล่นจากกล่องนม เช่น เรือและตุ๊กตาปากสัตว์
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
- สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้โดยทำเป็นของเล่นไว้เล่นเองหรือเล่นกับพี่น้อง
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอวิธีการเล่นของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์เช่น คนกระโดดร่ม หรือการเคลื่อนที่ของเรือกล่องนมให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล

Week
Input
Process
Output
Outcome
3

10 -14พฤศจิกายน 2557
(ต่อ)

วันศุกร์
เชื่อม :
ครูถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้” ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
ใช้ :
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
(การบ้าน เตรียมก้านกล้วยใบกล้วยและไม้ไผ่มาในวันจันทร์)

ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- ทักษะการคิดและการเรียนรู้ โดยมีความสนในและสามารถวางแผนการประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-       สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในการออกแบบของเล่นเรือจากกล่องนมได้
-     เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่อยากเรียน
- สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการประดิษฐ์ของเล่น คนกระโดดร่ม การเคลื่อนที่ของเรือกล่องนม หรือการนำกล่องนมมาทำตุ๊กตามือของตนเองได้
คุณลักษณะ
รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
สามารถสร้างชิ้นงานจากถุงพลาสติก กล่องนมโดยนำมาสร้างสรรค์เป็นของเล่นได้
มีความพยายาม อดทนในการสร้างของเล่นจากกล่องนม (เรือกล่องนม)ให้เคลื่อนที่ได้สำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ที่ใกล้ตัว
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นออกแบบของเล่นต่างๆ ได้






กิจกรรมและชิ้นงาน


















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนนี้คุณครูเริ่มต้นด้วยการเล่นเกม 20 คำถามให้ทายของเล่นที่ครูนำมาในวันนี้ พี่ป.2 ตื่นเต้นอยากรู้ว่าในกระเป๋ามีอะไร เมื่อทายครบคุณครูให้พี่ๆ ทายว่าของในกระเป๋าเป็นอะไร พี่ๆหลายคนทายว่าเป็น ตุ๊กตาบ้าง รถบ้าง แต่มีพี่เจมส์ทายว่าเป็นจรวด คุณครูเก็บจรวดหลอดกาแฟไว้ก่อน และนำของเล่นชิ้นแรกที่ไม่มีใครทายถูกออกมา คือตุ๊กกระตาชักกระตุก ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดพี่ ๆคิดว่าของเล่นนี้มีวิธีการเล่นอย่างไรคะ พี่ป.2 ส่วนมาจะตอบดึงเชือกเพราะเห็นเชือกที่ห้อยลงมา ทุกคนตื่นเต้นและอยากเล่นมาก คุณครูจึงให้ทุกคนได้ทดลองเล่นดู จากนั้นนำของเล่นชิ้นที่สองออกมาเป็นจรวดหลอดกาแฟ และคุณครูก็ถามคำถาม มีวิธีการเล่นอย่างไร พี่ๆ เมื่อมองเห็นหลอดก็สามารถบอกได้ว่าต้องมีวิธีการเล่นโดยการเป่า ครูให้เพื่อนสองคนทดลองเล่นให้เพื่อนดู จากนั้นตั้งคำถามกระตุ้นคิดต่อ ของเล่นทั้ง 2 มีอะไรที่เหมือนกันบ้างคะ พี่ๆ บอกว่าทำจาการะดาษบ้าง ทำจากหลอดกาแฟบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็ตอบว่า ไม่มีเชือกกับมีเชือก พี่ต้นกล้างบอกว่า อันที่หนึ่งเล่นแบบดึง อันที่สองเล่นแบบเป่า พี่แม็คบอกว่า จรวดใช้ลมดันขึ้นไป ตุ๊กกระตาใช้การดึงลงมาครับ จากนั้นครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นคิดต่อ ถ้าคุณครูอยากได้ของเล่นที่มีทั้งการดันขึ้น และตกลงมา แต่ตอนที่ตกลงมาครูอยากให้ลงมาใช้ๆ นักเรียนคิดว่าเราจะประดิษฐ์ของเล่นอะไรดีค่ะ พี่ๆ บอกว่าเครื่องบินบ้าง กังหันบ้าง จรวดบ้าง ระหว่างที่เพื่อนเสนอความคิด เพื่อนที่ยังคิดไม่ออกก็จะคิดตามและเสนอความคิดเห็นกับสิ่งที่เพื่อนบอกว่าไม่น่าใช้เพราะตกเร็ว เมื่อนั่งคิดอยู่นานคุณครูก็ได้ยินเสียงหนึ่งพูดขึ้นมาว่า ร่มครับ ผมเคยเห็น จากนั้นเพื่อนก็คิดตามและคล้อยตามโดยให้เหตุผลว่า ใช่ครับ/ค่ะ เพราะเราโยนขึ้น และตนตกมาจะค่อยๆ ตกลงพื้น บางคนบอกว่าน่าจะเป็นคนกระโดดร่มครับ เพราะครูให้เราเตรียมถุงพลาสติกมา เมื่อได้ข้อสรุปครูให้นักเรียนลองประดิษฐ์คนกระโดดร่มในแบบของตนเอง และใช้สิ่งของที่มีในห้องมาทำเป็นคน เช่นเม็ดมะขาม บ้างก็ใช้ตุ๊กตาหุ่นยนต์ เมื่อทุกคนประดิษฐ์เรียบร้อยก็ถึงเวลาทดสอบ คุณครูพาพี่ๆ ไปทดสอบที่สนามโรงเรียน พี่ฟีฟ่าโยนขึ้นไปแล้วเชือกขาด เพื่อนคนอื่นๆ บางคนตกลงมาเร็ว บางคนอยู่บนฟ้าได้นาน บางคนโยนไม่ขึ้นบ้าง โยนแล้วไม่กางบ้าง ทุกคนสนุกกับการเล่นและแนะนำเพื่อน เช่นมีเสียงบอกว่าอย่าจับที่ถุงพลาสติกเวลาโยนจับที่คนแล้วร่มจะกางออก ระหว่างที่เล่นครูก็ตั้งคำถามกระตุ้นคิดเช่น ทำไม่ของบางคนตกเร็ว บางคนตกช้า พี่ๆ บอกคุณครูว่า คนหนักบ้าง ร่มเล็กบ้าง และทุกคนก็สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้อยู่บนอากาศได้นานๆ นอกจากนี้ครูได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นด้วยเช่น แรงที่เราทำให้ร่มขึ้นไปบนอากาศ แรงที่ทำให้ตกลงมา และแรงที่ให้อยู่บนอากาศได้นานๆ ซึ่งพี่ๆก็ตอบได้ว่า แรงโยนทำให้ขึ้น แรงดึงดูดโลกทำให้ตก และมีแรงต้านลมที่ทำให้อยู่นาน วันต่อมาครูนำของเล่นมาให้ทายอีกเช่นเคย ซึ่งเป็นของเล่นจากกล่องนม คือตุ๊กตามือ และเรือที่มีกลไกการเคลื่อนที่เอง วันนี้ทุกคนกระตือรือร้นกับการทายมากกว่าเดิมเพราะคิดว่าน่าจะต้องทายถูก และก็มีคนทายถูกอย่างรวดเร็วอย่างที่คาดการ เพราะเป็นของเล่นจากกล่องนม ครูให้พี่ๆ สังเกตการณ์เล่นของเล่นทั้งสอง พี่ๆ ตอบได้ว่าชิ้นแรกตุ๊กตามือไม่ได้ใช้กลไกใดในการเคลื่อนที่ใช้มือในการเล่น ส่วนชิ้นที่สองเรือให้ยางเล่นในการหมุนใบพัดให้เรือเคลื่อนที่ไปด้านหน้า จากนั้นครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คนออกแบบเรือเคลื่อนที่ของตนเองตามชอบใจ และประดิษฐ์ เมื่อเสร็จแล้วทุกคนออกไปทดสอบเรือ บางคนเรือจมเพราะตัดกล่องนมออกทางท้ายเรือ บ้างก็หมุนใบพัดผิดทางทำให้เรือเคลื่อนที่ไปด้านหลัง เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรครูจะคอยกระตุ้นทำว่าคิดว่าทำไมเป็นเช่นนั้น เช่นการจม การเคลื่อนที่ วันต่อมาเนื่องจากพี่สนใจที่จะประดิษฐ์ตุ๊กตามือ ครูจึงให้นักเรียนออกแบบประดิษฐ์ตามความสนใจ และทุกคนก็มีความกระตือรือร้นที่จะทำมาก เช่นบางคนทำเป็นจระเข้ นก หมี สุนัข แมว ฯลฯ วันสุดท้ายของสัปดาห์นี้พี่ป.2 ช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์และสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ