เป้าหมายรายสัปดาห์:
นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นตามสมัย
อีกทั้งสามารถออกแบบการละเล่นเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้และเล่นด้วย
ซึ่งเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านได้อีกด้วย
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
1-5
ธันวาคม 2557
|
โจทย์ ย้อนเวลาไปครึ่งศตวรรษ
คำถาม
นักเรียนคิดว่าเด็กๆในสมัยก่อนเล่นอะไร และมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับของการละเล่นของไทย
- Jigsaw ค้นหาการละเล่นสมัยก่อน/ออกแบบการละเล่นของไทยให้พี่และน้องได้ร่วมกิจกรรม
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบการละเล่น
- Show
and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
|
วันจันทร์
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-
ครูเล่าเรื่องของเล่นสมัยเป็นเด็กให้นักเรียนฟัง
เชื่อม :
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าถ้าเราย้อนเวลาไป 50 ปี
เราจะมีของเล่นและเล่นอะไรบ้าง”
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากข้อมูลที่ได้สอบถามจากผู้ปกครอง หรือปู่ย่า
ตายาย ของเล่นและการละเล่นสมัยนั้นและค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเล่นหรือการละเล่นอย่างอื่นจากอินเตอร์เน็ต
ผ่านเครื่องมือคิด Jigsaw
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนจะทำอย่างไรให้คนอื่นได้รู้จักการละเล่นสมัยก่อนด้วย”
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคิดวิธีเผยแพร่ การละเล่น
ใช้ :
นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละเท่าๆ
กัน ออกแบบกิจกรรมการละเล่นเพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นเข้าใจ
|
ภาระงาน
-
ศึกษาวิธีการเล่นการละเล่นสมัยอดีตพร้อมออกแบบกิจกรรมให้พี่และน้องได้ร่วมเล่น
-
วิเคราะห์และสรุปกิจกรรม
-
ค้นคว้าหาการละเล่นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ชิ้นงาน
-
ชาร์ตการออกแบบกิจกรรมการละเล่นพร้อมวิธีการเล่น
-
สรุปการละเล่นในอดีตและปัจจุบันพร้อมวิธีสืบสานการละเล่นให้คงอยู่สืบไป
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นตามสมัย
อีกทั้งสามารถออกแบบการละเล่นเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้และเล่นด้วย ซึ่งเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านได้อีกด้วยทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมในการค้นหาข้อมูลการละเล่นต่างๆ
-
มีเป้าหมายในการทำงานและเห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาการละเล่นและกิจกรรมที่เรียน
- มีการวางแผนในการค้นหาข้อมูลการละเล่นต่างๆ
รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
|
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
1 – 5ธันวาคม 2557
(ต่อ)
|
สื่อ/อุปกรณ์
-
บรรยากาศในชั้นเรียนและบริเวณโรงเรียน
อุปกรณ์ประกอบการละเล่น
|
วันอังคาร
ใช้ :
นักเรียนนำเสนอการออกแบบกิจกรรมของกลุ่มตนเองโดยการให้เพื่อนๆในห้องได้เล่นการละเล่นที่ค้นหามา
วันพฤหัสบดี
ชง
-
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมการละเล่นที่เล่นร่วมกับพี่และน้อง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมการละเล่นของเรา เพราะเหตุใดจึงรู้สึกเช่นนั้น”
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าการละเล่นในอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร
และมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
เราจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้การละเล่นพื้นบ้านของเรายังคงอยู่"
-
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในอดีต
(สิ่งที่ส่งผลต่อการเล่น เช่นวัฒนธรรม ความเชื่อ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
เชื่อม :
นักเรียนค้นหาข้อมูลการละเล่นในอดีตถึงปัจจุบัน
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปการละเล่นตามสมัยและวิธีการสืบสานการละเล่นต่างๆ
|
|
ทักษะการสื่อสาร
-
บอกความรู้สึกของตนเองขณะที่เล่นการละเล่นสมัยก่อนและการเล่นสมัยปัจจุบันให้ผู้อื่นรับรู้ได้
-
สนทนาถามตอบเกี่ยวกับการละเล่นที่ได้ค้นคว้ามาได้
- สามารถพูดอธิบายนำเสนอ วิธีการเล่นการละเล่นต่างๆ
ในสมัยก่อนให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
-
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการละเล่นด้วยวิธีการที่หลากหลายและเป็นระบบ
-
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาขณะที่เล่นการละเล่นต่างๆได้
|
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
3 – 7 ธันวาคม 2557
(ต่อ)
|
|
วันศุกร์
เชื่อม :
ครูถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้ :
-นักเรียนนำเสนอการละเล่นในอดีต
-นักเรียนชักเย่อความคิด “ของเล่นในอดีตกับปัจจุบันอย่างไหนดีกว่ากัน
เพราะเหตุใด
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
|
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-
เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น
แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน
การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
-
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น
การค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต สอบถามผู้รู้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้
กระตือรือร้นในการทำงาน
- สามารถออกแบบและนำเสนอการละเล่นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็นออกแบบวิธีเล่นของการละเล่นต่างๆ
ได้
|
*หมายเหตุ
วันศุกร์ เป็นวันหยุดวันพ่อ (5
ธ.ค.)
สัปดาห์นี้พี่ ป.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ โดยวันจันทร์พี่ป.2 ได้ศึกษาเกี่ยวกับการละเล่นในแต่ละภาคโดยพี่ๆ จะแบ่งเป็นกลุ่มศึกษาการละเล่นในแต่ละภาคจากอินเทอร์เน็ต หนังสือจากห้องสมุดโดยทำเป็นชาร์ตความรู้ จากนั้นวันอังคารพี่ๆ ได้นำเสนอการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาคของไทยให้เพื่อกลุ่มอื่นๆ ได้ได้ฟังและทดลองเล่นด้วย โดยพี่บางกลุ่มออกมานำเสนอโดยนำแผ่นชาร์ตมาอธิบาย บางกลุ่มออกมานำเสนอโดยแสดงการละเล่นของภาคตนเอง พี่ๆ สนุกกับการละเล่นต่างๆ ครูตั้งคำถามการละเล่นเหล่านี้ปัจจุบันพี่ๆ ยังเล่นอะไรบ้าง พี่ๆ ส่วนมากจะตอบว่าได้เล่นชักเย่อ ว่าว มอญซ่อนผ้า หมากเก็บเล่นบ้าง งูกินหางเคยเล่นบ้าง การละเล่นบางอย่างพี่ๆ ยังไม่เคยเล่นเช่น โพงพาง ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดต่อตอนที่เล่นพี่ๆรู้สึกอย่างไรบ้าง บ้างก็บอกว่าสนุก บางคนบอกว่าดีใจ บางคนบอกอยากเล่นอีก วันนี้ครูให้การบ้านพี่ๆ กลับไปถามคุณปู่ คุณย่า คุณตา หรือคุณยาย ว่าตอนสมัยเป็นเด็กเล่นอะไรบ้างและนำมาเล่าให้เพื่อน วันพฤหัสบดี ครูให้นักเรียนเล่าการละเล่นที่ของคุณปู่ ย่า ตา หรือยาย พี่ลาร์ดแมวกินปลาย่างครับ คนเล่นปิดตาเป็นแมว และปลาย่าง เพื่อจับแขนเป็นวงกลม ถ้าแมวจับปลาย่างได้ก็เปลี่ยนคนใหม่ และนักเรียนทบทวนกิจกรรมทั้งสัปดาห์เพื่อสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เนื่องจากวันศุกร์เป็นวันหยุดวันพ่อ (5 ธ.ค.)
ตอบลบ