เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic: "ของเล่นมหัศจรรย์หนึ่งสมองสองมือจูเนียร์"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนรู้และเข้าใจ ประโยชน์และโทษที่เกิดจากของเล่น สามารถเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสม โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถออกแบบเลือกใช้วัสดุเหลือใช้หรือวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและภูมิใจในผลงานของตนเอง

week 7



เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และโทษจากการเล่นของเล่น รวมทั้งบอกวิธีดูแลรักษาของเล่นให้อยู่ในสภาพที่ดีสะอาดและสวยงามเพื่อให้ใช้เล่นได้นานๆคุ้มค่า และปลอดภัย
Week
Input
Process
Output
Outcome
7

8-12
 ธันวาคม 2557

โจทย์  ของเล่นในชั้นเรียน

คำถาม
-           ทำไมจึงต้องเล่น มีของเล่นไว้เพื่ออะไรบ้าง เล่นแล้วดีกับเราจริงหรือ ?
-           ถ้าเราเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บหรือดูแลจะเป็นอย่างไร ?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับของเล่นที่มีประโยชน์และของเล่นที่อันตราย
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปของเล่นน้อยใจ/การเก็บและดูแลรักษาของเล่น

วันจันทร์
ชง :
ครูนำของเล่นที่นักเรียนทำมาวางเรียง และตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนชอบของเล่นชิ้นไหนมากที่สุดเพราะเหตุใด” นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นของเล่นที่ชอบ
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-       นักเรียนเล่นของเล่นแล้วรู้สึกอย่างไร
-       คิดว่าของเล่นมีประโยชน์อย่างไรกับตัวเอง
-       นอกจากประโยชน์แล้วของเล่นมีโทษหรือไม่อย่างไร
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ใช้ :
-    นักเรียนเขียน (รายบุคคล) ประโยชน์และโทษ การแก้ไข หรือการเล่นที่เหมาะสมจากการเล่นของเล่นที่ตนเองเล่น แล้วนำมาเสนอให้เพื่อนและคุณครูฟัง โดยเขียนเป็นแผ่นพับ ผ่านเครื่องมือคิด Jigsaw
ครูแจกกระดาษแผ่นเล็กให้นักเรียนคนละใบ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ของเล่นมีประโยชน์มากกว่าโทษ” ผ่านเครื่องมือ ชักเย่อความคิด 
ภาระงาน
- ค้นหาข้อมูลประโยชน์และโทษจากการเล่นของเล่น
- ทำความสะอาดและจัดเก็บของเล่นที่ประดิษฐ์ในชั้นเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- ออกแบบตุ๊กตาหัวของเล่นรูปต่างๆ

ชิ้นงาน
-      แผ่นพับประโยชน์และโทษของของเล่นต่างๆ
-      นิทานการเลือกเล่นของเล่น
-      Plate mats การเก็บและดูแลรักษาของเล่น
-      ตุ๊กตาหัวดินสอ
-      สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ของเล่นนอกจากจะให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น สร้างรายได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สติปัญญา ไหวพริบดี แต่บางอย่างก็ให้โทษเช่นกัน ตัวอย่างเช่นของเล่นแหลมคม พลาสติก ยาง มีสารปนเปื้อนทำให้เกิดอันตรายได้  และของเล่นเมื่อเล่นแล้วควรเก็บให้เข้าที่ ทำความสะอาดเพื่อเพื่อให้ใช้เล่นได้นานๆคุ้มค่า และปลอดภัย



Week
Input
Process
Output
Outcome
7

10-14 ธันวาคม 2557
(ต่อ)
- Jigsaw ประโยชน์และโทษจากการเล่นของเล่น
- Plate mats การเก็บและดูแลรักษาของเล่น
- Show and Share นำเสนอประโยชน์และโทษจากของเล่น
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
 - ชักเย่อความคิด ของเล่นมีประโยชน์มากกว่าโทษ
สื่อ/อุปกรณ์
-    บรรยากาศในชั้นเรียน
-     คลิป “ของเล่นน้อยใจ”
-     อินเตอร์เน็ต
-     ของเล่นในชั้นเรียน

วันอังคาร
ชง :
- ครูเปิดคลิป “ของเล่นน้อยใจ”นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวในคลิป
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนเป็นเด็กผู้ชายในเรื่องจะทำอย่างไร
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
เชื่อม :
- ครูให้นักเรียนสำรวจของเล่นในชั้นเรียนว่ามีอะไรบ้าง ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าของเล่นในชั้นเรียนและของเล่นของเราเป็นอย่างไร นักเรียนคิดว่าจะมีวิธีเก็บและดูแลของเล่นอย่างไรให้อยู่ในความเรียบร้อยเพื่อจะได้เล่นได้นานๆ” นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น ผ่านเครื่องมือคิด Plate mats
ใช้ :
นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดซ่อมแซมและจัดเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
(การบ้าน นักเรียนออกแบบของเล่นที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อตนเองมากที่สุดหนึ่งอย่าง นำมาประดิษฐ์ในวันพฤหัสบดี)

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในห้องเรียนในดูแลและการจัดเก็บของเล่นได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
-ทำงานอย่างมีเป้าหมายและมีการวางแผนในการทำงาน (ประดิษฐ์ของเล่นที่มีประโยชน์และปลอดภัย)
เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในการเล่นและดูแลรักษาของเล่นของตนเอง
ทักษะการสื่อสาร
-สามารถพูดอธิบายนำเสนอประโยชน์และโทษจากของเล่นที่ตนเองหาข้อมูลมาให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
-สามารถสนทนาถามตอบเกี่ยวกับประโยชน์และความปลอดภัยจากของเล่นที่ประดิษฐ์เองได้



Week
Input
Process
Output
Outcome
7

10-14 ธันวาคม 2557
(ต่อ)

วันพฤหัสบดี
ชง :
ครูนำลวด ไหมพรม ให้นักเรียนสังเกต ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
-                   นักเรียนสังเกตเหตุอะไร
-                   สิ่งของเหล่านี้เหมือนกับอะไรบ้าง
นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะนำลวด และไหมพรมมาประดิษฐ์เป็นของเล่นจะทำเป็นอะไรได้บ้าง
นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด
ใช้ :
-นักเรียนประดิษฐ์ของเล่นจากลวดและไหมพรมเป็นตุ๊กตาติดหัวดินสอรูปต่างๆ
-นักเรียนนำเสนอตุ๊กตาติดหัวดินสอรูปต่างๆให้เพื่อนและคุณครูชื่นชม


ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- ทักษะการคิดและการเรียนรู้ โดยมีความสนในและสามารถวางแผนการเรียนรู้ได้
- สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการทำงานของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่อยากเรียน
- นักเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาหัวดินสอรูปต่างๆ ได้อย่างสรรค์สรร





Week
Input
Process
Output
Outcome
7

10-14 ธันวาคม 2557
(ต่อ)

วันศุกร์
เชื่อม :
ครูถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้”
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้
ใช้ :
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ทักษะ ICT
-สามารถเลือกใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลได้อย่างหลากหลายตรงตามวัตถุประสงค์
-วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลประโยชน์และโทษจากของเล่นได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันภัย
คุณลักษณะ
สามารถสร้างของเล่นที่มีประโยชน์และความปลอดภัยได้
-รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
มีความพยายาม อดทนในการทำงาน (ประดิษฐ์ของเล่น)ให้สำเร็จ
มีความสุขในการทำงาน รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน













1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2557 เวลา 11:07

    สัปดาห์นี้พี่ป.2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ โทษ การดูแลรักษาของเล่น ซึ่งวันจันทร์พี่ๆ ได้เรียนรู้ประโยชน์และโทษจากที่เกิดจากการเล่นของเล่นในชั้นเรียน ของเล่นที่พี่ๆ นำมาบอกประโยชน์และโทษนี้เป็นของเล่นที่ได้ประดิษฐ์เองจากสัปดาห์ที่ผ่านๆ มา รวมถึงของเล่นที่อยู่ในชั้นเรียน เช่น เลโก้ ดินน้ำมัน หุ่นชัก จรวด ฯลฯ โดยทุกคนสรุปเป็นแผ่นพับที่บอกเป็นประโยชน์และโทษ ผ่านเครื่องมือคิด Jigsaw เมื่อทุกคนเขียนเสร็จ ครูสุ่มตัวอย่างอ่านให้เพื่อนๆ ฟัง ส่วนแผ่นพับของเล่นที่ยังไม่ได้อ่านครูนำไปติดไว้ให้เพื่อคนอื่นๆ ได้อ่านด้วย วันอังคารครูเริ่มกิจกรรมด้วยการเปิดคลิปวีดีโอการ์ตูนของเล่นน้อยใจให้นักเรียนได้ดู และตั้งคำถามเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง นักเรียนช่วยกันตอบว่า เด็กในเรื่องเล่นของเล่นแรง เล่นแล้วไม่เก็บ เล่นแล้วพัง ทำให้ของเล่นไม่อยากให้เล่น ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดต่อ ใครเคยทำอย่างเด็กในเรื่องบ้าง พี่แป๋ม หนูแตะลูกบอลไปใส่ลวดหนามที่รั้วค่ะ บอลรั่วไม่ได้เล่นอีกค่ะ พี่ภู ผมโยนหุ่นยนต์ครับ แตกเลย ไม่ได้เล่น ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดต่อ แล้วเราควรจะทำอย่างไรกับของเล่นเรา ถึงจะเล่นได้นานๆ นักเรียนเขียนการดูแลของเล่นของตนเองโดยใช้เครื่องมือคิด Plate mates จากนั้นแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิธีการดูแลรักษาของเล่น วันพฤหัสบดี นักเรียนได้ชักเย่อความคิดของเล่นมีประโยชน์หรือโทษมากว่ากัน เพราะเหตุใด ส่วนมาพี่ๆ จะบอกว่ามีประโยชน์และโทษเท่าๆ กัน ถ้าเล่นถูกวิธีก็ประโยชน์ แต่ถ้าเล่นไม่ดีก็มีโทษ ส่วนคนที่บอกมีประโยชน์มากกว่าหรือโทษมากกว่าจะเขียนระบุเป็นของเล่น เช่น เลโก้ฝึกความคิดในการต่อ หรือเล่นดินน้ำมันถ้าไม่ล้างมือจะเป็นอันตราย เด็กกินดินน้ำมันอาจตายได้ หลังจากนั้นนักเรียนได้แบ่งกลุ่มจับฉลากในการประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ กลุ่มละ 3-4 คน และออกแบบวางแผนการประดิษฐ์ (หนูกะลา, ขาโถกเถก, รถล้อเดียว, บั้งโพละ, เดินกะลา, คอปเตอร์ไม้ไผ่, กำหมุน, ลูกข่าง, ล้อหลอดด้าย) วันศุกร์ นักเรียนนำอุปกรณ์ที่เตรียมมาประดิษฐ์ของเล่นจากวันที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมและสนุกกับของเล่นของตน และได้แบ่งปันให้เพื่อนกลุ่มอื่นเล่นด้วย ของเล่นที่พี่ๆ สนใจมากที่สุดคือกำหมุน เพราะประดิษฐ์ง่าย และเพื่อนกลุ่มนี้นำอุปกรณ์มาเยอะ ได้แบ่งปันเพื่อนได้หลายคน หลังจากนั้นครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับประโยชน์ โทษ และการดูแลรักษาของเล่นเหล่านี้ รวมทั้งทบทวนกิจกรรมที่ได้ทำในสัปดาห์นี้ นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ